วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ส่วนประกอบของเครื่องชั่งวิเคราะห์


ส่วนประกอบของเครื่องชั่งวิเคราะห์  หรือ เครื่องชั่งละเอียดสูง ที่ใช้ในห้องทดลอง

1. ฐานเครื่องชั่ง (Balance Main Body) ภายในบรรจุอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์แม่เหล็ก ตุ้มน้ าหนักและ
อุปกรณ์สำหรับเปรียบเทียบน้ำหนัก
2. กล่องครอบจานชั่ง (Weight Chamber) อาจทำด้วยกระจกใส หรือพลาสติกใสครอบจานชั่ง เพื่อ
ป้องกันลม ทำให้น้ าหนักที่ชั่งได้คงที่ มักใช้กับเครื่องชั่งที่อ่านค่าความละเอียดทศนิยม 3 ตำแหน่งขึ้นไป
3. ประตูสำหรับ ปิด-เปิด (Door) เครื่องชั่งที่มีกล่องครอบจานชั่งจะมีประตูที่สามารถเปิดได้ 2 หรือ 3
ด้าน คือด้านซ้าย ด้านขวา หรือด้านบน ส่วนด้านหน้าจะไม่มีประตู เพื่อป้องกันการชั่งตัวอย่างผ่าน
ด้านหน้า ซึ่งอาจทำให้ตัวอย่างหกใส่หน้าจอแสดงผลและปุ่มป้อนข้อมูล ซึ่งอยู่ด้านหน้าเครื่องชั่ง
4. จานชั่ง (Pan) ส าหรับวางสิ่งที่ต้องการชั่งน้ำหนัก โดยทั่วไปจะไม่วางสิ่งที่ต้องการชั่งบนจานชั่ง
โดยตรง แต่จะวางในภาชนะรองรับก่อน
5. วงแหวนป้องกันจานชั่ง (Anti Draft Ring) ใช้ป้องกันการเลื่อนตัวของจานชั่ง
6. หน้าจอแสดงผลการชั่ง (Display Panel) แสดงค่าน้ำหนักของวัตถุที่ชั่งเป็นตัวเลข
7. ตัวชี้บอกระดับ (Level Indicator) ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นฟองอากาศที่ขังอยู่ในน้ำที่ครอบแก้วไว้
สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นตัวชี้บอกการตั้งตรงของเครื่องชั่ง ถ้าฟองอากาศอยู่ตรงกลางครอบแก้ว แสดงว่า
เครื่องชั่งตั้งตรง ถ้าฟองอากาศไม่อยู่ตรงกลางครอบแก้วแสดงว่าเครื่องชั่งตั้งเอียงอยู่ เราสามารถปรับ
เครื่องชั่งให้ตั้งตรงได้โดยการหมุนปุ่มปรับระดับที่ขาเครื่องชั่ง
8. ปุ่มปรับระดับ (Level Screw) ใช้ปรับระดับเครื่องชั่งให้ตั้งตรง โดยสังเกตจากระดับฟองอากาศ ซึ่ง
ใช้เป็นตัวชี้บอกระดับ หรือที่เรียกว่า ลูกน้ำที่ตัวเครื่องชั่งให้อยู่ตรงกลาง
9. แผ่นป้าย (Label) ระบุรายละเอียดของข้อมูลที่จำเป็นของเครื่องชั่ง เช่นความสามารถในการอ่านค่า
ความละเอียดของน้ำหนัก

วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2558

คำศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับเครื่องชั่ง


เรื่องราวของเครื่องชั้ง มีมากมายที่เราต้องรู้ เพื่อให้รู้จักเครื่องชั่งให้มากขึ้น บทความนี้จะขอนำเสนอ คำศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับเครื่องชั่ง เพราะคงมีหลายคนที่สงสัยเมื่อเจอคำเหล่านี้ในคู่มือการใช้เครื่องชั่ง
หรืออยู่ในคุณลักษณะของเครื่องชั่งที่ระบุมาในกล่อง

คำศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับเครื่องชั่ง

1. Readability คือ ค่าความละเอียดของเครื่องชั่ง หมายถึง ค่าความละเอียด ที่เครื่องชั่งสามารถอ่านได้สูงสุด
 ค่า Readability  มีความสำคัญกับการชั่งมาก ดังนั้น เมื่อจะใช้งานควรทราบรายละเอียดของสิ่งของที่ต้องการชั่งว่า อ่านละเอียดกี่ตำแหน่ง จึงจะเหมาะสมที่สุด ซึ่งก็จะทำให้เกิดความผิดพลาดน้อยสุดในการชั่งในแต่ละครั้ง
 เช่น   เครื่องชั่งทศนิยม  4  ตำแหน่ง   0.0001  กรัม  อ่านละเอียด   100  ไมโครกรัม
          เครื่องชั่งทศนิยม  3  ตำแหน่ง     0.001  กรัม  อ่านละเอียด       1  มิลลิกรัม
          เครื่องชั่งทศนิยม  2  ตำแหน่ง       0.01  กรัม  อ่านละเอียด     10  มิลลิกรัม
          เครื่องชั่งทศนิยม  1  ตำแหน่ง         0.1  กรัม  อ่านละเอียด   100  มิลลิกรัม
2. Weighing Capacity คือ น้ำหนักที่มากที่สุดที่เครื่องชั่งสามารถชั่งได้ ห้ามชั่งเกินน้ำหนักที่รับได้เพราะจะทำให้ Load call ของเครื่องชั่งเสียได้
3. Load Cell โหลดเซลมีหน้าที่เป็นตัวรับแรงกด หรือ แรงดึง แล้วส่งสัญญาณ Analog หรือ Digital ออกไปยังส่วนประมวลผล
4. Repeatability คือ ค่าความแตกต่างระหว่างค่าที่มากที่สุดกับน้อยสุดของการทำซ้ำ (6 ครั้งเป็นอย่างน้อย)
5. Reproducibility คือ ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ของการชั่งซ้ำอย่างอย่างน้อย 10 ครั้ง ของน้ำหนักไม่เกิน 50 kg. ส่วนที่น้ำหนักมากกว่า 50 kg. ชั่งซ้ำ 5 ครั้ง
6. Linearity คือ ค่าความแตกต่างระหว่างค่าที่อ่านได้จากเครื่องชั่งกับน้ำหนักจริงที่วางอยู่บนเครื่องชั่ง
7. Sensitivity drift คือ ค่าความคลาดเคลื่อนที่อ่านได้จากเครื่องชั่ง เมื่ออุณหภูมิของเครื่องชั่ง เปลี่ยนแปลงจากอุณหภูมิที่ปรับตั้งเครื่องชั่ง โดยที่อุณหภูมิเปลี่ยนแปลง 1 องศา เครื่องชั่งจะคลาดเคลื่อนไป 2 ในล้านส่วน หรือ 2 ppm./ oc
8. Tare Range คือ ช่วงน้ำหนักที่เราสามารถปรับค่าให้เครื่องชั่งอ่านค่าเป็น 0  ได้
9. Response Time คือ ระยะเวลาที่ใช้ในการแสดงผลการชั่งของเครื่องชั่งหลังจากวางของที่ต้องการชั่งบนจานชั่งแล้ว
10.Allowable Operating Temperature คือ ช่วงอุณหภูมิที่เครื่องชั่งสามารถใช้งานได้ตามข้อกำหนดคุณลักษณะ
11.Display คือ จอแสดงผลของเครื่องชั่งน้ำหนักทั่วไป จะมีลักษณะเป็น หลอดเปล่งแสง (Fluorescent) หรือ เรืองแสงสีดำ (LCD) ถ้าเป็นเครื่องชั่งราคาสูง ส่วนมากจะเป็นชนิด หลอดเปล่งแสง
12.Pan Size หมายถึง  ขนาดจานชั่งของเครื่องชั่ง
จากบทความนี้หวังว่าจะทำให้ผู้อ่านรู้เรื่องเกี่ยวกับเครื่องชั่งมากขึ้น สามารถติดตามได้ที่ www.sompornshop.com

วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558

การใช้เครื่องชั่งให้ถูกวิธี

วิธีการใช้งานเครื่องชั่งดิจิตอลอย่างถูกต้อง
เครื่องชั่งดิจิตอล จะมีระบบการทำงานคือ จะมีการคำนวณน้ำหนักของที่ชั่ง ตามหลักการ ของโหลดเซลล์ แล้วจะมีการประมวลค่าให้เป็นสัญญาณดิจิตอลหรืออิเล็กทรอนิกส์
แล้วจะไปแสดงบนหน้าจอเครื่องชั่งในรูปแบบดิจิตอล
วิธีการใช้เครื่องชั่งอย่างวิธีคือ
1.การวางของบนจานชั่ง ควรวางสิ่งที่ต้องการชั่งให่อยู่ตรงกลางจาน เพื่อให้โหลดเซลล์ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ค่าน้ำหนักจะได้ไม่คลาดเคลื่อน
2.ถ้าเกิดเป็นในกรณีที่เครื่องชั่งละเอียด หากมีการใช้งานเกิน 30 นาที ควรวางสิ่งของที่จะชั่งบนจานชั่ง
เป็นช่วงเวลาสั้นๆ แล้วยกออกก่อนการชั่งจริง เป็นการทำ pre loading warm ก่อนการใช้งาน
3.ควรรีบนำสิ่งของที่ชั่งออกจากจานชั่งเมื่อชั่งเสร็จแล้ว เพื่อหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและความชื้นภายในเครื่องชั่ง ซึ่งอาจเกิดจากสิ่งที่ชั่งนั้น และไม่ทำให้เครื่องล้า
เนื่องจากถ้าเสียบปลั๊กอยู่ตลอดเวลาจะมีแรงต้านอยู่ตลอดเวลา แต่เมื่อปิดเครื่องถอดปลั๊กจะต้องหยิบภาชนะออกเพื่อป้องกัน Load cell เสียเนื่องจากไม่มีแรงต้านทานครับผม
4.พื้นที่วางเครื่องชั่งต้องเรียบ เสมอกัน ไม่ลุ่มๆ ดอนๆ หรือถ้าเป็นโต๊ะสำหรับวางเครื่องชั่งต้องมั่นคง แข็งแรง ไม่โยกเยก
5. อุณหภูมิภาในห้องเครื่องชั่งควรคงที่ เนื่องจากอุณหภูมิที่เปลี่ยนไป 1 องศา
จะทำให้เครื่องชั่งอ่านค่าผิดไป 1-2 ส่วนในล้านส่วน และไม่ควรชั่งน้ำหนักที่ร้อนหรือชั่งใกล้กับสิ่งที่ทำให้เกิดความร้อน
6. ความชื้นสัมพัทธ์ในห้องเครื่องชั่งควรอยู่ระหว่าง 45-60%
7. ไม่ควรอยุ่ใกล้ประตูทางเข้าออกด้วย หรือ กระแสลมจากเครื่องปรับอากาศและเครื่องมือที่ทำให้เกิดกระแสลม เพราะกระแสลมทำให้การชั่งคลาดเคลื่อน
8.ควรเปิดเครื่องชั่งก่อนใช้ทุกครั้ง เพื่อ warm up ก่อนเพื่อให้วงจรอิเลคทรอนิกส์เริ่มทำงานและมีอุณหภูมิที่เหมาะสม (ในตัวเครื่องจะมีระบบชดเชยอุณหภูมิอยู่ด้วย)
ซึ่งระยะเวลาในการ warm จะขึ้นอยู่กับความละเอียดของเครื่องชั่ง
***ข้อควรจำ การวางน้ำหนังลงบนเครื่องชั่งโดย น้ำหนักเกินโหลดเซลล์จะรับได้
(full scale) หรือไม่ ก็ไม่เป็นผลดีต่อเครื่องชั่งเช่นกัน อาจจะส่งผลต่อโหลดเซลล์ ทำให้โหลดเซลล์เสียได้